ครม. มีมติเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565 เห็นชอบให้ “แรงงานต่างด้าว” 3 สัญชาติ ได้แก่ พม่า กัมพูชา และลาว ที่เข้ามาตามระบบ MOU และวาระจ้างงานครบ 4 ปี ในปี 2565 สามารถอยู่ และทำงานต่อต่อได้อีก 2 ปี

ครม. เห็นชอบขยายเวลาให้บริการ ศูนย์ CI ใน 4 จังหวัด ถึง 13 ก.พ. 2566
กุมภาพันธ์ 21, 2023
MOU ครบวาระ 2 ปี บริการต่อวีซ่า ใบอนุญาตทำงาน อีก 2 ปี
กุมภาพันธ์ 22, 2023

ครม. มีมติเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565 เห็นชอบให้ “แรงงานต่างด้าว” 3 สัญชาติ ได้แก่ พม่า กัมพูชา และลาว ที่เข้ามาตามระบบ MOU และวาระจ้างงานครบ 4 ปี ในปี 2565 สามารถอยู่ และทำงานต่อต่อได้อีก 2 ปี

ครม. มีมติเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565 เห็นชอบให้ “แรงงานต่างด้าว” 3 สัญชาติ ได้แก่ พม่า กัมพูชา และลาว ที่เข้ามาตามระบบ MOU และวาระจ้างงานครบ 4 ปี ในปี 2565 สามารถอยู่ต่อได้อีก 2 ปี ให้นายจ้างและลูกจ้างติดต่อดำเนินการให้แล้วเสร็จ ก่อนที่ใบอนุญาตทำงานจะหมดอายุ หากเกินกำหนดแล้ว ให้ดำเนินการภายใน 6 เดือน นับจากใบอนุญาตทำงานหมดอายุ

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า วันนี้ (วันที่ 15 มีนาคม 2565) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ซึ่งเข้ามาทำงานตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน (MOU) ภายใต้บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน (Agreement) ซึ่งวาระการจ้างงาน ครบ 4 ปี ในปี พ.ศ. 2565 ให้สามารถอยู่ในราชอาณาจักรและทำงานได้อีกไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่การอนุญาตเดิมสิ้นสุด ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ โดยให้คนต่างด้าวที่ประสงค์ทำงานต่อไปกลุ่มดังกล่าว มาดำเนินการยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานหรือยื่นคำขออนุญาตทำงาน ภายในระยะเวลาที่กำหนด

“จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ทั่วโลกที่ยังคงความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรการป้องกัน ควบคุม และยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ซึ่งเกี่ยวข้องถึงการเดินทางเข้าออกประเทศของคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตาม MOU ที่วาระการจ้างงานครบ 4 ปี ในปี พ.ศ. 2565 แรงงานต่างด้าวถึง 106,580 คน ประกอบด้วยแรงงานสัญชาติกัมพูชา 26,840 คน ลาว 25,504 คน และเมียนมา 54,236 คน พบอุปสรรค ข้อขัดข้อง รวมทั้งไม่สามารถเดินทางกลับประเทศโดยสะดวก พร้อมกับที่การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรใกล้จะสิ้นสุดลง โดยที่นายจ้าง/ผู้ประกอบการ ยังมีความต้องการกำลังแรงงานในการฟื้นฟูกิจการ และเศรษฐกิจภายในประเทศ รับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด – 19 ที่กำลังคลี่คลาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน จึงมอบหมายกระทรวงแรงงานกำหนดมาตรการยกเว้นและปรับแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ภาคธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศขับเคลื่อนได้ต่อไป” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว

ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า สำหรับแรงงาน MOU ซึ่งวาระการจ้างงาน ครบ 4 ปี ที่จะได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานได้อีกไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่การอนุญาตทำงานเดิมสิ้นสุด คือกลุ่มแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ กัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่เข้ามาทำงานตาม MoU ซึ่งวาระการจ้างงานจะครบ 4 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 31 ธ.ค. 65 โดยแรงงานต่างด้าวต้องดำเนินการตามขั้นตอนให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน นับจากวันที่การอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวรายนั้น ๆ สิ้นสุด ณ สถานที่ตั้งของแต่ละหน่วยงาน

โดยมีแนวทางการดำเนินการ ดังนี้
1. คนต่างด้าวตรวจสุขภาพ ณ สถานพยาบาลที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล โดยคนต่างด้าวที่จะขอรับใบอนุญาตทำงานต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของคนต่างด้าวที่จะขอรับใบอนุญาต ทำงาน พ.ศ. 2563

2. คนต่างด้าวยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานก่อนที่ใบอนุญาตทำงานสิ้นอายุ และกรณีคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ที่ยังมิได้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานก่อนที่ใบอนุญาตทำงานเดิมสิ้นอายุ หากประสงค์จะทำงานต่อให้ยื่นคำขออนุญาตทำงานภายในระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันที่ใบอนุญาตทำงานสิ้นอายุ โดยคนต่างด้าวจะสามารถทำงานได้ เมื่อได้รับใบอนุญาตทำงานแล้วเท่านั้น
*นายทะเบียนจะอนุญาตทำงานได้ไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่ใบอนุญาตทำงานสิ้นอายุ

3. คนต่างด้าวขอรับการตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป เพื่อทำงานเท่ากับระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว แต่ไม่เกิน 2 ปี นับจากวันที่การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุดลง
*กรณีที่หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางสิ้นอายุ ให้คนต่างด้าวดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารดังกล่าว เพื่อใช้ในการขอรับการตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป

4. จัดทำทะเบียนประวัติคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย

“ทั้งนี้ นายจ้าง/สถานประกอบการ หรือคนต่างด้าวต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือสำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด ที่เป็นที่ตั้งของสถานประกอบการ หรือที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร. 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร. 1694 ซึ่งมีการจัดล่ามในภาษากัมพูชา เมียนมา และอังกฤษ ให้บริการข้อมูลข่าวสาร และแนะนำวิธีการดำเนินการ” อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าว

ขอบคุณข้อมูล thaigov.go.th